โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ
หลักสูตร “การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย”
วันที่ 18 – 20 พฤศจิกายน 2565
ณ ขวัญนคร สปอร์ต การ์เด้น รีสอร์ท
เลขที่ 294 หมู่ 1 ตำบลสาริกา อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก 26000
1.หลักการและเหตุผล
งานวิจัยถือเป็นภารกิจหลักที่สำคัญประการหนึ่งของหน่วยงาน คุณภาพงานวิจัยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ได้แก่ การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งของคุณภาพงานวิจัย นำมาซึ่งงานวิจัยที่มีคุณภาพ
บริษัท ไบชานา โกลบอลเทรด จำกัด เห็นความสำคัญของเทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย จึงได้จัดโครงการอบรมเรื่อง การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย เพื่อขอรับทุนอุดหนุนจากหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เรียนรู้เทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยที่ตนสนใจได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง เพื่อนำข้อมูลที่ได้มากำหนดเป็นกรอบแนวคิดในการดำเนินการวิจัยต่อไป
2.วัตถุประสงค์
1) เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ทางด้านการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนอุดหนุนจากหน่วยงานทั้งภายใน และภายนอกอย่างมีประสิทธิภาพ
2) เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ และเรียนรู้ประสบการณ์เกี่ยวกับการวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ
3) เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม สามารถจัดทำข้อเสนอการวิจัยได้
3. โครงสร้างหลักสูตร
ประกอบด้วย ภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ และภาคกิจกรรมเสริมหลักสูตร รวม 18 ชั่วโมง โดยมี
รายละเอียด ดังนี้
3.1 ภาคทฤษฎี ประกอบด้วยเนื้อหา จำนวน 9 ชั่วโมง ดังนี้
3.1.1 หลักการเขียนข้อเสนอการวิจัย 1 ชั่วโมง
3.1.2 การกำหนดโจทย์การวิจัยแบบบูรณาการที่สอดคล้องกับนโยบายการวิจัย
ของประเทศ ตามบริบทของชุมชน และงานตามภารกิจหลัก 1 ชั่วโมง
3.1.3 การทบทวนวรรณกรรม การสังเคราะห์วรรณกรรม และกรอบแนวคิด 1 ชั่วโมง
3.1.4. การออกแบบการวิจัย 6 ชั่วโมง
1. รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร การสุ่มตัวอย่าง การสร้างเครื่องมือ
การวิเคราะห์ข้อมูล และการประมวลผลข้อมูล
2. รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากร การเลือกกลุ่มตัวอย่าง การสร้างเครื่องมือ
การวิเคราะห์ข้อมูล และการประมวลผลข้อมูล
3.2 ภาคปฏิบัติฝึกปฏิบัติเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยกลุ่ม ประกอบด้วยเนื้อหา 9 ชั่วโมง
3.2.1 ฝึกปฏิบัติกำหนดโจทย์ และบูรณาการความคิดร่วมกับสมาชิกในกลุ่ม 2 ชั่วโมง
(เพื่อกำหนดปัญหาวิจัยในแต่ละพื้นที่ และสรุปการกำหนดโจทย์วิจัย
คำถามวิจัย และวัตถุประสงค์)
3.2.2 ฝึกปฏิบัติเขียนการทบทวนวรรณกรรม และกรอบแนวคิด 1 ชั่วโมง (การสังเคราะห์วรรณกรรม)
3.2.3 ฝึกปฏิบัติการออกแบบการวิจัย 3 ชั่วโมง
2.2.4นำเสนอข้อเสนอโครงการวิจัย 3 ชั่วโมง
(บูรณาการความรู้ และนำสนอการสร้างเครือข่ายวิจัยจากการอบรม)
3.3 กิจกรรมเสริมหลักสูตรอื่นๆ
ปฐมนิเทศ Homeroom แนะนำสมาชิก เลือกกรรมการรุ่น ปัจฉิมนิเทศ รับวุฒิบัตร
และพิธีเปิด-ปิดการฝึกอบรม
4. วิธีการฝึกอบรม
4.1 การบรรยาย
4.2 ฝึกปฏิบัติ และทำกิจกรรมร่วมกัน
4.3 ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
5. วิทยากร
1. รองศาสตราจารย์ ดร.คงศักดิ์ ศรีแก้ว อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
2.รองศาสตราจารย์ ดร.สุวารีย์ วงศ์วัฒนา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไบชานา โกลบอลเทรด จำกัด
และอดีตอาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
3.รองศาสตรจารย์ บุษบา หินเธาว์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
4.นายบัณฑิต ศิริสัมพันธ์ ประธานกรรมการบริหารบริษัท ไบชานา โกลบอลเทรด จำกัด
5.นายศักดิ์ดา ภูมิพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไบชานา โกลบอลเทรด จำกัด
6. กลุ่มเป้าหมาย และคุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
ครู อาจารย์ พนักงาน นักวิชาการ นักวิจัย ในหน่วยงานภาครัฐ/ภาคเอกชน นักศึกษา
และผู้สนใจทั่วไป จำนวน 30 คน
โดยมีคุณสมบัติ ดังนี้
6.1 มีสัญชาติไทย
6.2 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ในสาขาวิชาการต่าง ๆ หรือปฏิบัติงานในหน่วยงานภาครัฐ
หรือเอกชน หรือหน่วยงานท้องถิ่น
6.3 เป็นผู้ที่สนใจจริงและมุ่งมั่นในการเข้ารับการฝึกอบรม สามารถเข้ารับการฝึกอบรมได้ตลอด
หลักสูตร และได้รับอนุมัติจากหน่วยงานต้นสังกัด
7. ระยะเวลาการฝึกอบรม
รุ่นละ 3 วัน จำนวน 18 ชั่วโมง
8. วันและสถานที่ฝึกอบรม
วันที่ 18 – 20 พฤศจิกายน 2556
สถานที่ฝึกอบรม
ขวัญนคร สปอร์ต การ์เด้น รีสอร์ท เลขที่ 294 หมู่ 1 ตำบลสาริกา อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก 26000
9. การสมัครเข้ารับการฝึกอบรม
ผู้ที่สนใจสามารถดูรายละเอียดโครงการ และสมัครได้ที่ www.baichana.com หรือที่ https://forms.gle/C85F7ZyBJqn4GXCC9 หรือ แสกนที่ QR Code ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 20 ตุลาคม 2565
10. การประเมินผล
10.1 ประเมินความคิดเห็นของผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการฝึกอบรม
10.2 ประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม โดยพิจารณาจาก
10.2.1 จำนวนเวลาการเข้ารับการฝึกอบรมในแต่ละกิจกรรมต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของ
จำนวนเวลาอบรมทั้งหมดที่กำหนดในหลักสูตร และไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนเวลาในภาคทฤษฎี และไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนเวลาในภาคปฏิบัติ
10.2.2 ข้อเสนอโครงการวิจัยของกลุ่ม
10.2.3 ประเมินความรู้ของผู้เข้ารับการฝึกอบรมโดยการประเมินตนเองก่อนและหลังการอบรม
11. การติดตามและประเมินผลภายหลังการฝึกอบรม
ติดตามผลผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลังสิ้นสุดการฝึกอบรม โดยการส่งแบบสอบถาม การสัมภาษณ์
12. เกณฑ์การมอบวุฒิบัตรให้แก่ผู้ผ่านการฝึกอบรม
โดยพิจารณาจากเกณฑ์ ดังนี้
1. จำนวนเวลาการเข้ารับการฝึกอบรมในแต่ละกิจกรรมต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของ
จำนวนเวลาอบรมทั้งหมดที่กำหนดในหลักสูตร และไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนเวลาในภาคทฤษฎี และไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนเวลาในภาคปฏิบัติ
2. ข้อเสนอโครงการวิจัยของกลุ่ม
13. งบประมาณ
ค่าลงทะเบียนจากผู้เข้ารับการฝึกอบรมคนละ 9,000 บ.
14. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
14.1 สร้างนักวิจัยให้มีความรู้และประสบการณ์ในการทำวิจัยอย่างมีระบบ
14.2 ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปทำวิจัย และ
ปรับปรุงกระบวนการวิจัย ที่หน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
14.3 ช่วยให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถสร้างผลงานวิจัยอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง รวมถึเป็นการ
เพิ่มจำนวนนักวิจัยที่มีคุณภาพให้แก่ประเทศ
14.4 เพื่อส่งเสริมและยกระดับการวิจัยของประเทศให้ผลการวิจัยตอบสนองภาคการ
ผลิตและภาคบริการ
14.5 เพื่อพัฒนาผลงานวิจัยของประเทศ ให้มีคุณภาพและปริมาณมากขึ้นและสามารถใช้
งานวิจัยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
14.6 ได้นักวิจัยมีวิสัยทัศน์กว้างไกล และมีเครือข่ายการวิจัย
15. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
บริษัท ไบชานา โกลบอลเทรด จำกัด
…………………………………………………………………….
กำหนดการโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ
วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2565 | |
8.30 – 9.00 น. | ลงทะเบียน |
9.00 – 9.15 น. | พิธีเปิดการฝึกอบรม – โดยนายบัณฑิต ศิริสัมพันธ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไบชานา โกลบอลเทรด จำกัด |
9.15 – 10.15 น. | บรรยายหัวข้อ หลักการเขียนข้อเสนอการวิจัย – โดย รองศาสตราจารย์ ดร.คงศักดิ์ ศรีแก้ว อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม |
10.15 – 10.30 น. | พักรับประทานอาหารว่าง |
10.30 – 11.30 น. | บรรยายหัวข้อ การกำหนดโจทย์การวิจัยแบบบูรณาการที่สอดคล้องกับนโยบายการวิจัยของประเทศ ตามบริบทของชุมชน และงานตามภารกิจหลัก – โดย รองศาสตราจารย์ ดร.คงศักดิ์ ศรีแก้ว อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม |
11.30 – 12.30 น. | บรรยายหัวข้อ การทบทวนวรรณกรรม และกรอบแนวคิดการวิจัย – โดย รองศาสตราจารย์ ดร.คงศักดิ์ ศรีแก้ว อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม |
12.30 – 13.30 น. | พักรับประทานอาหารกลางวัน |
13.30 – 15.00 น. | บรรยายหัวข้อ การออกแบบการวิจัย -รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร กลุ่มตัวอย่าง การสร้างเครื่องมือ การวิเคราะห์ข้อมูล และการสรุปผลข้อมูล โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุวารีย์ วงศ์วัฒนา กรรมการผู้จัดการบริษัท ไบชานา โกลบอลเทรด จำกัด และอดีตอาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม |
15.00 – 15.15 น. | พักรับประทานอาหารว่าง |
15.15 – 16.45 น. | บรรยายหัวข้อ การออกแบบการวิจัย(ต่อ) – รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร การสุ่มตัวอย่าง การสร้าง เครื่องมือ การวิเคราะห์ข้อมูล และการสรุปผลข้อมูล โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุวารีย์ วงศ์วัฒนา |
16.45 – 17.00 น. | สรุป บูรณาการความรู้ โดย นายศักดิ์ดา ภูมิพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไบชานา โกลบอลเทรด จำกัด |
วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน 2565 | |
8.30 – 9.00 น. | ลงทะเบียน |
9.00 – 10.30 น. | บรรยายหัวข้อ การออกแบบการวิจัย (ต่อ) -รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ การเลือกตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูล และการสรุปผลข้อมูล – โดย รองศาสตรจารย์ บุษบา หินเธาว์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม |
10.30 – 10.45 น. | พักรับประทานอาหารว่าง |
10.45 – 12.00 น. | บรรยายหัวข้อ การออกแบบการวิจัย (ต่อ) -รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ การเลือกตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูล และการสรุปผลข้อมูล – โดย รองศาสตรจารย์ บุษบา หินเธาว์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม |
12.30 – 13.30 น. | พักรับประทานอาหารกลางวัน |
13.30 – 14.45 น. | ฝึกปฏิบัติเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย กำหนดโจทย์และบูรณาการความคิดร่วมกับสมาชิกในกลุ่ม(เพื่อกำหนดปัญหาวิจัยในแต่ละพื้นที่ และสรุปการกำหนดโจทย์วิจัย คำถามวิจัย และวัตถุประสงค์) โดย 1.รองศาสตราจารย์ ดร.สุวารีย์ วงศ์วัฒนา 2.นายบัณฑิต ศิริสัมพันธ์ 3.นายศักดิ์ดา ภูมิพันธุ์ |
14.45 – 15.00 | พักรับประทานอาหารว่าง |
15.00 – 16.45 | ฝึกปฏิบัติเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย(ต่อ) ฝึกปฏิบัติเขียนการทบทวนวรรณกรรม และกรอบแนวคิด โดย 1.รองศาสตราจารย์ ดร.สุวารีย์ วงศ์วัฒนา 2.นายบัณฑิต ศิริสัมพันธ์ 3.นายศักดิ์ดา ภูมิพันธุ์ |
16.45 – 17.00 น. | สรุป บูรณาการความรู้ โดย นายศักดิ์ดา ภูมิพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไบชานา โกลบอลเทรด จำกัด |
วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2565 | |
8.30 – 9.00 น. | ลงทะเบียน |
9.00 – 10.30 น. | ฝึกปฏิบัติเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย(ต่อ)
โดย 1.รองศาสตราจารย์ ดร.สุวารีย์ วงศ์วัฒนา 2.นายบัณฑิต ศิริสัมพันธ์ 3.นายศักดิ์ดา ภูมิพันธุ์ |
10.30 – 10.45 น. | พักรับประทานอาหารว่าง |
10.45 – 12.30 น. | ฝึกปฏิบัติเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย(ต่อ)
โดย 1.รองศาสตราจารย์ ดร.สุวารีย์ วงศ์วัฒนา 2.นายบัณฑิต ศิริสัมพันธ์ 3.นายศักดิ์ดา ภูมิพันธุ์ |
12.30 – 13.30 น. | พักรับประทานอาหารกลางวัน |
13.30 – 14.45 น. | นำเสนอโครงการวิจัย โดย 1.รองศาสตราจารย์ ดร.สุวารีย์ วงศ์วัฒนา 2.นายบัณฑิต ศิริสัมพันธ์ 3.นายศักดิ์ดา ภูมิพันธุ์ |
14.45 – 15.00 | พักรับประธานอาหารว่าง |
15.00 – 16.30 | นำเสนอโครงการวิจัย (ต่อ) โดย 1.รองศาสตราจารย์ ดร.สุวารีย์ วงศ์วัฒนา 2.นายบัณฑิต ศิริสัมพันธ์ 3.นายศักดิ์ดา ภูมิพันธุ์ |
16.30 – 16.45 | สรุป บูรณาการความรู้ และนำเสนอการสร้างเครือข่ายวิจัยจากการอบรม โดย นายศักดิ์ดา ภูมิพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไบชานา โกลบอลเทรด จำกัด |
16.45 – 17.00 น. | พิธีปิดการอบรม และมอบวุฒิบัตร โดย นายบัณฑิต ศิริสัมพันธ์ ประธานกรรมการบริหารบริษัท ไบชานา โกลบอลเทรด จำกัด |