Nattawoot

ณัฐวุฒิ ธรรมพันธุ์

Sakda

ศักดิ์ดา ภูมิพันธุ์

ประวัติการศึกษา

                 วุฒิการศึกษา

            จากสถาบัน

     ปีที่จบ

วท.ม. : วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์กร)

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

     2549

ศศ.บ. : ศิลปศาสตร์บัณฑิต (สาขาบริหารรัฐกิจ)

มหาวิทยาลัยรามคำแหง

     2533


ตำแหน่งงานปัจจุบัน :     Managing Director บริษัทไบชานา โกลบอลเทรด จำกัด

โทรศัพท์ :  064-597-3460

ที่อยู่ :        2/ หมู่ 14 2/254 ซ.รามคำแหง 190/2 มีนบุรี กรุงเทพมหานคร 10510

e-mail :     sakda@baichanal.com

 

ประสบการณ์ทำงาน

  • Vice President การพัฒนาองค์กร: กลุ่มบริษัทปริญสิริ จำกัด (มหาชน)
  • Vice President แรงงานสัมพันธ์ : ธนาคาร CIMB Thai จำกัด (มหาชน)
  • Human Resource and Organization Development Manager : บริษัท พฤกษา
  • เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน)
  • Six Sigma Blackbelt: บริษัท American Standard จำกัด (มหาชน)

 

ประสบการณ์ที่ปรึกษา  

·       กลุ่มบริษัทเบล้สแอสเสทกรุ้ป จำกัด (มหาชน)

·       บริษัทธนาพัฒน์พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน)

·       กลุ่มบริษัททานตะวันอุตสาหกรรม จก. (มหาชน)

·       บริษัทการบินกรุงเทพ (BAC)

·       พงสะหวันแอร์ไลน์ สปป. ลาว

·       กลุ่มบริษัท Sauna Italia จำกัด

·       มูลนิธิซาเลเซียนประเทศไทย และประเทศกัมพูชา

·       กลุ่มบริษัท Advantage จำกัด

·       กลุ่มบริษัท GM Group จำกัด

·       กลุ่มบริษัทอู่ข้าวอู่น้ำภาพยนตร์ จำกัด

 

ประสบการณ์วิทยากร

 

บริษัทเอกชน

กลุ่มบริษัท CPPC,  กลุ่มบริษัท IRPC,  กลุ่มบริษัท PTT-BSA, ธนาคาร UOB, ธนาคาร CIMB Thai, เนสท์เล่, ซีเกจ, กรุงศรีออโต้, กลุ่มบริษัท Loxley Trading, Hitachi Transportation, อเมริกันแสตนดาร์ด, Dee Stone,  บริษัทการบินกรุงทพ (BAC), กลุ่มบริษัท Sauna Italia,  บริษัทธนาพัฒน์, กลุ่ม รพ. มหาชัย, กลุ่ม รพ. บางปะกอก ศูนย์ประชุม Impact ฯลฯ

 

หน่วยงานภาครัฐ

คณะพยาบาลศาสตร์ศิริราชพยาบาล, โรงพยาบาลอานันทมหิดล,  สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน, กรมบัญชีกลาง, สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรกระทรวงเกษตรฯ, กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ, กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, โครงการขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ฯลฯ


ประสบการณ์อาจารย์พิเศษ

ม.เกษตรศาสตร์,  ม.บูรพา,  ม.ศรีปทุม, ม. กรุงเทพ, มรภ.วลัยอลงกรณ์


                              ————————————————-

Bandithr

นายบัณฑิต ศิริสัมพันธ์

การศึกษา ปริญญาโท สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ 

ตำแหน่งงานปัจจุบัน  Senior Executive Managing Director BAICHANA GLOBALTRADE CO.,LTD. และผู้ประกอบการด้านการเกษตร

ที่อยู่  124 หมู่ที่ 5 ตำบลหนองพระ อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก 65130

โทรศัพท์ 081-373-3169

E-mail : bandithr@yahoo.com

ข้อมูลส่วนตัว

วัน  เดือน  ปีเกิด       11 กรกฎาคม 2503

สถานภาพสมรส        แต่งงาน  มีบุตร 1 คน

สถานภาพทางทหาร  จบ ร.ด. ปี 3

ประวัติการศึกษา

ปริญญาตรี  ศิลปศาสตรบัณฑิต (รัฐศาสตร์)  สาขาการเมืองการปกครอง  มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ปริญญาโท สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ 

เข้ารับการอบรมหลักสูตรต่างๆ  ดังนี้

1. การจัดการงานบุคคล   รุ่นที่   286 (เป็นประธานรุ่น)

เป็นหลักสูตรของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน  และสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย  ระหว่างวันที่  22 เมษายน – 3 พฤษภาคม 2539

2. การพัฒนาหัวหน้างาน   รุ่นที่   317

เป็นหลักสูตรของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน  และกระทรวงแรงงานฯ  ระหว่าง

วันที่ 10 – 14 มีนาคม  2540

3. การบริหารสำหรับผู้บังคับบัญชา   รุ่นที่ 13

เป็นหลักสูตรของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน  และกระทรวงแรงงานฯ  ระหว่าง

วันที่  8 – 14 เมษายน  2540

 

4. การพูดต่อที่ชุมชน   รุ่นที่   8

เป็นหลักสูตรของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน  และกระทรวงแรงงานฯ  ระหว่าง

วันที่  3 – 5  มิถุนายน  2540

5. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน

เป็นหลักสูตรของสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย)  ระยะเวลาในการอบรม  12  ชั่วโมง  ในวันที่  24  เมษายน  2547

6. ISO 9000(2000) ,  ISO 14001  , ISO/ST 16949

วิทยากรบรรยาย

การสัมมนา กิจกรรมสร้างแรงจูงใจและเสริมองค์ความรู้ด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์

จัดโดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย วันที่ 9 มิถุนายน 2564

 

ผลงาน (ด้านวิชาชีพ)

 

1.ผลิตข้าวหอมมะลิ105 จากการเพาะปลูกแบบธรรมชาติที่มีสาระสำคัญของถั่งเช่าทั้ง Cordycepin และ Adenosine ซึ่งเป็นสารสำคัญของยาในการบำรุงป้องกัน และสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายเสริมสร้างความแข็งแรง

    

  2.ชาสมุนไพรจากใบข้าว ที่มีสารถั่งเช่า และซีลีเนียม ตราใบชานา

หน่วยงานที่มอบรางวัล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

 

รางวัลที่ได้รับ โล่ประกาศเกียรติคุณ AGRO GENIUS AWARD 2021

            จากโครงการ AGRO GENIUS DIPROM ซึ่งเป็นผลงานที่ได้รับความสนใจและถูกนำมาใช้เป็นต้นแบบ 1 ใน 5 กิจการ จากผู้ประกอบการ 50 กิจการที่ได้รับการคัดเลือก

                         

3.ผลิตข้าวหอมมะลิ105 จากการเพาะปลูกแบบธรรมชาติที่มีสาระสำคัญของถั่งเช่าทั้ง Cordycepin และ Adenosine ซึ่งเป็นสารสำคัญของยาในการบำรุงป้องกัน และสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายเสริมสร้างความแข็งแรง

 

ประวัติการทำงาน

พ.ศ.2532 – พ.ศ.2537

ตำแหน่ง  เจ้าหน้าที่บุคคล  แผนกบุคคล  บริษัท  อินโนเวชั่นนครหลวงฟุตแวร์  จำกัด (อุตสาหกรรมรองเท้า)

อำเภอนครหลวง  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  เป็นบริษัทในเครือบริษัท บางกอกรับเบอร์ จำกัด(มหาชน)

หน้าที่รับผิดชอบ  ดำเนินการด้านสรรหาว่าจ้าง ฝึกอบรม งานด้านแรงงานสัมพันธ์ ดำเนินงาน

ด้านกิจกรรมพิเศษให้พนักงาน

17 พฤศจิกายน 2538

โอนย้ายมารับตำแหน่ง หัวหน้าแผนกบุคคล ฝ่ายบุคคล บริษัท เอคโค่ (ประเทศไทย) จำกัด

(อุตสาหกรรมรองเท้า) เป็นบริษัทที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตรองเท้าที่ทันสมัยที่สุดของโลก

อำเภอนครหลวง  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  เป็นบริษัทในเครือบริษัท บางกอกรับเบอร์ จำกัด(มหาชน)

หน้าที่รับผิดชอบ  ดำเนินการด้านสรรหาว่าจ้าง ฝึกอบรม งานด้านแรงงานสัมพันธ์ ธุรการ  ขนส่ง  งานด้านสวัสดิการ

1 มีนาคม 2539 – 31 มกราคม 2542

โอนย้ายมารับตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายบริหารสำนักงานบริษัท นูทรีชั่นเฮ้าส์ จำกัด (อุตสาหกรรม

อาหาร) และบริษัท  แพนโพลีเทคนิค (บริษัทฝึกอบรม)  จำกัด   เขตจตุจักร  กรุงเทพมหานคร  (ได้รับตำแหน่งและค่าจ้างทั้งสองบริษัท)   เป็นบริษัทในเครือบริษัท บางกอกรับเบอร์ จำกัด (มหาชน)

หน้าที่รับผิดชอบ  ปฏิบัติงานด้านงานบุคคลทั้งหมด  เริ่มตั้งแต่งานด้านสรรหาว่าจ้าง

ดำเนินการจัดฝึกอบรมพนักงานทั้งภายในและภายนอกองค์กร   การคำนวณค่าจ้าง  จัดทำภาษี   ยื่นภาษี  งานด้านแรงงานสัมพันธ์  งานด้านกฎหมายแรงาน  ประกันสังคม  กองทุนเงินทดแทน  กองทุน  สำรองเลี้ยงชีพ  สวัสดิการ  กิจกรรมพนักงาน  งานวางแผนปรับปรุงคุณภาพการผลิต  การสร้างระบบแรงจูงใจในการทำงาน  งานธุรการ  งานขนส่ง

กุมภาพันธ์ 2542 ถึง ธันวาคม 2542

ตำแหน่ง  ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายบุคคล  SUNFLAG (THAILAND) CO., LTD.

(อุตสาหกรรมเส้นใยสังเคราะห์)

นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ  อำเภออุทัย  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

หน้าที่รับผิดชอบ  ปฏิบัติงานด้านสรรหาว่าจ้าง  แรงงานสัมพันธ์  ฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร 

สวัสดิการ  สิ่งแวดล้อม ฯลฯ

มกราคม 2543 ถึง กรกฎาคม 2545

ตำแหน่ง  ผู้จัดการฝ่ายบุคคล  และ ฝ่ายวางแผนการผลิต  บริษัท เฟื่องฟู  2000   จำกัด(อุตสาหกรรมพาสติก  ยาง  และยูริเทน) 

อำเภอเมือง  จังหวัดสมุทรสาคร   (แยกกิจการมาจากบริษัท พนมพรกิจไพศาล)

หน้าที่รับผิดชอบ  ปฏิบัติงานด้านงานบุคคลทั้งหมด  และวางแผนการผลิต  วิเคราะห์ข้อมูลด้าน

การผลิต  การสร้างระบบแรงจูงใจในการทำงานเพื่อเพิ่มผลผลิต  การลดต้นทุน ฯลฯ

กันยายน 2545 ถึง กันยายน 2547

ตำแหน่ง  ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์  บริษัท เคแอลเค อินดัสตรี   จำกัด (อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์) เขตคลองสามวา  กรุงเทพมหานคร

หน้าที่รับผิดชอบ  ปฏิบัติงานด้านงานบุคคลทั้งหมด  งานด้านพัฒนาบุคลากร  การสร้างระบบ

แรงจูงใจในการทำงานเพื่อเพิ่มผลผลิต  กิจกรรมการลดต้นทุน  กิจกรรม 5 ส. ISO 9001(2000)   ISO 14000 ฯลฯ

20 กันยายน 2547 ถึง 20 พฤศจิกายน 2549

ตำแหน่ง  ผู้จัดการฝ่ายบุคคล  บริษัท ที่นอนดาร์ลิ่ง   จำกัด  (อุตสาหกรรมเครื่องนอน)

เขตคลองสามวา  กรุงเทพมหานคร

หน้าที่รับผิดชอบ  ปฏิบัติงานด้านงานบุคคลทั้งหมด  แรงงานสัมพันธ์  การจัดการค่าตอบแทน

งานด้านวิจัยและพัฒนาระบบ  เก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลด้านการผลิต  งานด้านฝึกอบรมพัฒนาบุคคลากร  การสร้างระบบแรงจูงใจในการทำงานเพื่อเพิ่มผลผลิต กิจกรรมความปลอดภัยในการทำงาน  กิจกรรม 5 ส. ฯลฯ

19 มีนาคม 2550 ถึง กันยายน 2554

ตำแหน่ง  หัวหน้าแผนกทรัพยากรบุคคล  บริษัท ทุ่งคำ  จำกัด  (อุตสาหกรรมเหมืองแร่ทองคำ)

ตำบลเขาหลวง  อำเภอวังสะพุง  จังหวัดเลย

 

หน้าที่รับผิดชอบ  ปฏิบัติงานด้านงานบุคคลทั้งหมด  งานสรรหาว่าจ้าง  แรงงานสัมพันธ์  การ

จัดการค่าตอบแทน  สวัสดิการ  ประกันสังคม  งานด้านฝึกอบรมพัฒนาบุคคลากร  กิจกรรมความปลอดภัยในการทำงาน กิจกรรม 5 ส. กิจกรรมพนักงาน ติดต่อประสานงานราชการ งานชุมชนสัมพันธ์  งานรักษาความปลอดภัย  งานโครงการต่างๆ ฯลฯ

3 ตุลาคม 2554 ถึง 2559

ตำแหน่ง  ผู้จัดการฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์  บริษัท ลี้ กิจเจริญแสง  จำกัด (เลคิเซ่ กรุ้ป) 

(อุตสาหกรรมผลิตหลอดไฟและอุปกรณ์ส่องสว่าง) ตำบลนาดี  อำเภอเมือง  จังหวัดสมุทรสาคร

หน้าที่รับผิดชอบ  รับผิดชอบการวางแผนงานและกำหนดทิศทางในการบริหารบุคลากร

ให้กับองค์กร  ซึ่งครอบคลุมถึงการสรรหาว่าจ้าง  การบริหารระบบผลตอบแทน  การบริหารระบบแรงงานสัมพันธ์ การแสวงหาเครื่องมือการจัดการสมัยใหม่เข้ามาใช้ในองค์กรเพื่อตอบสนองความต้องการของการบริหารการจัดการทรัพยากรบุคคลที่เปลี่ยนแปลงไป

ปฏิบัติงานด้านงานบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทั้งหมด  ประกันสังคม  งานด้านฝึกอบรม

พัฒนาบุคคลากร  กิจกรรมความปลอดภัยในการทำงาน กิจกรรม 5 ส. กิจกรรมพนักงาน ติดต่อประสานงานราชการ งานชุมชนสัมพันธ์ CSR (Corporate Social Responsibility) หรือความรับผิดชอบต่อสังคม งานรักษาความปลอดภัย งานโครงการต่างๆ ฯลฯ

รายละเอียดความรับผิดชอบหลัก

การวางแผนงาน

1.      วางแผน  ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามนโยบายของบริษัท

2.      วางแผนอัตรากำลังและสรรหาว่าจ้างเพื่อให้ได้บุคลากรที่มีคุณภาพ ทันเวลา และต้นทุนในการ

สรรหาที่เหมาะสม  รวบรวมข้อมูลอัตรากำลัง  อัตราการเข้า-ออก  วิเคราะห์ปัญหาปรับปรุงแก้ไขกำหนดแนวทางในการสรรหา  และกำหนดระบบการคัดเลือกบุคลากร

3.      วางแผนการพัฒนาบุคลากรทุกส่วนให้มีความสอดคล้องกับนโยบายของบริษัท  กำหนด

รูปแบบวิเคราะห์ความต้องการในการฝึกอบรม  กำหนดแผนกลยุทธ์ในการบริหารการฝึกอบรม  พร้อมทั้งกำหนดรูปแบบในการประเมินและติดตามผล

4.      วางแผนปรับปรุงโครงสร้างองค์กร  โครงสร้างค่าจ้าง  สวัสดิการ  เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม

แรงจูงใจต่อพนักงาน สามารถแข่งขันได้  และสอดคล้องกับนโยบายของบริษัท

5.      วางแผนการจัดกิจกรรมแรงงานสัมพันธ์และโครงการต่างๆ เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดี

ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง คุณภาพชีวิตการทำงานและผลการปฏิบัติงานที่ดี  พร้อมทั้งกำหนดกลยุทธ์และวิธีการในการดำเนินการ

6.      วางแผน  พัฒนา ปรับปรุง  จัดทำ  การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน

7.      วางแผนจัดทำงบประมาณค่าใช้จ่ายฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ให้สอดรับกับเป้าหมายของฝ่ายฯ

8.      วางแผนการใช้เครื่องมือสมัยใหม่ในงานทรัพยากรมนุษย์

 

     การบริหารจัดการ

1.       สร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล แสดงบทบาทที่เน้นความสัมพันธ์เป็นผู้นำ(Leader) จูงใจ

ส่งเสริม  พัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นผู้ประสานงานทั้งภายในและภายนอกองค์กร

2.       ข้อมูลข่าวสาร  รับข้อมูล  เก็บข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรเผยแพร่ข้อมูลให้กับพนักงาน

และหน่วยงานต่างๆ ในบริษัทประชาสัมพันธ์นโยบาย  แผนงาน  ผลการดำเนินงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ

3.       การตัดสินใจ แก้ไขความขัดแย้งภายในและภายนอกบริษัทจัดสรรทรัพยากรให้กับหน่วยงาน

ต่างๆ  ภายในบริษัท เจราจาต่อรองในทุกระดับพนักงาน

4.       บังคับใช้กฎและระเบียบต่าง ๆ ในการทำงานของบริษัทและดูแลพนักงานให้ปฏิบัติตาม

กฎระเบียบที่กำหนด

5.       ประสานงานกับแผนกอื่น ๆ ในการปฏิบัติตามนโยบาย กฎและระเบียบทางทรัพยากรบุคคล

6.       ให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะแก่แผนกอื่น ๆ ในเรื่องนโยบายทางทรัพยากรบุคคล และ

กฎหมายที่เกี่ยวข้องรวมทั้งกฎระเบียบต่าง ๆ

7.       ร่างและตรวจสอบสัญญา ข้อตกลงต่างๆ และเอกสารทางกฎหมายแรงงงาน รวมทั้งให้

คำแนะนำด้านกฎหมายแรงงานเพื่อประกอบการตัดสินใจทางการบริหาร

8.       ให้คำแนะนำทางกฎหมายแรงงานกับผู้จัดการและบุคคลอื่นในบริษัท

9.       วางกลยุทธ์การทำงานของฝ่ายทรัพยากรบุคคลให้สอดประสานกับทุกหน่วยงานและนโยบาย

ของบริษัท

 

งานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมายให้ดำรงตำแหน่ง และปฏิบัติหน้าที่ในองค์กร ได้แก่ :-

คณะกรรมการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในโรงงาน ( ตำแหน่งประธาน)

กิจกรรม 5 ส (ตำแหน่งที่ปรึกษา)

คณะกรรมการอนุรักษ์พลังงาน (ตำแหน่งกรรมการ)

คณะทำงานกิจกรรม CSR (ตำแหน่งผู้จัดการโครงการ)

คณะกรรมการสวัสดิการแรงงาน ในสถานประกอบการ (ตำแหน่งตัวแทนฝ่ายนายจ้าง)

 

ความสามารถด้านคอมพิวเตอร์

โปรแกรม Excel / Microsoft Word / Power Point

 

            ผลงานวิจัย

          พ.ศ. 2563 การพัฒนาการจัดการท่องเที่ยววิถีเกษตรกรรม สู่การยกระดับชีวิตเกษตรกร เครือข่ายชุมชนคนดินทอง จังหวัดพิษณุโลก ผู้ร่วมวิจัย

          พ.ศ. 2564 การบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรโดยเครือข่ายชุมชนดินทอง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก(ทุนสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ) ผู้ร่วมวิจัย

 

 

 

ผลลงานความร่วมมือการสนับสนุนจากภาครัฐ

 

เผยแพร่เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2565

วว.ขับเคลื่อนเศรษฐกิจBCGและสรางโอกาสทางธุรกิจให้SME ด้านเกษตร/อาหารปลอดภัย วิจัยพัฒนา/ทดสอบ ข้าวที่มีสาระสำคัญของถั่งเช่า ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย

 

 

กระทรวงการอุดมศึกษา  วิทยาศาสตร์  วิจัยและนวัตกรรม  (อว.)  โดย  สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)  ขับเคลื่อนนโยบาย  BCG  พัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมและนวัตกรรมอาหารปลอดภัย  ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม  ณ  พื้นที่จังหวัดพิษณุโลก  บูรณาการวิจัยประสบผลสำเร็จพัฒนาและทดสอบ “ข้าวสมุนไพรที่มีสารสำคัญถั่งเช่า”  ที่มีคุณสมบัติเด่นช่วยต้านอนุมูลอิสระ  สร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย  พร้อมต่อยอดแปรรูปเพิ่มมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพ  สร้างงาน  สร้างเงินให้เกษตรกร  สร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจประเทศ

 

ศ. (วิจัย) ดร. ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า วว. โดย ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา กลุ่มงานบริการอุตสาหกรรม ภายใต้การดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมและนวัตกรรมอาหารปลอดภัย ได้ลงพื้นที่ ณ จังหวัดพิษณุโลก นำองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) มาพัฒนารวมกับเกษตรกร เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ต่อยอดฐานความเข้มแข็งเดิม นั่นก็คือ ผลผลิตทางการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า ด้วยการพัฒนาพันธุ์ข้าวที่มีสารสำคัญของถั่งเช่า

ซึ่ง วว. ได้ดำเนินการวิเคราะห์ทดสอบปริมาณสารสำคัญถั่งเช่า Cordycepin และ Adenosine ที่เพิ่มประสิทธิภาพการไหลเวียนของเลือดและช่วยเรื่องภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ป้องกันภัยคุกคามจากเชื้อโรคในปัจจุบัน โดยการทดสอบสารสำคัญนี้นำไปสู่การพัฒนาเชิงนวัตกรรมในการผลิตข้าวที่มีสารสำคัญของถั่งเช่า รวมถึงการทดสอบปริมาณสารสำคัญอื่นๆ เช่น สารแกมมา โอริซานอล (Gamma Oryzanol) ที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยกระตุ้นการหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน (Endorphin) ช่วยผ่อนคลายความเครียดและหลับสบาย

ร่วมถึงช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้ได้รับการรับรองมาตรฐาน อย. สนับสนุนการกล่าวอ้างทางสุขภาพ (Health claim) บนฉลาก เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ เพิ่มช่องทางการขายด้วยการหาเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ ส่งเสริมสนับสนุนให้เกษตรกรและผู้ประกอบการมีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ได้รับความเชื่อถือจากผู้บริโภคทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

 

โดยขณะนี้ประสบผลสำเร็จในการพัฒนาพันธุ์ข้าวที่มีสารสำคัญของถั่งเช่า ในรูปผลิตภัณฑ์ “ข้าวสมุนไพรที่มีสารสำคัญถั่งเช่า” ในแปลงนาปลูกข้าวโดยใช้ปุ๋ยที่ผลิตจากเศษเหลือใช้จากการเพาะเห็ดถั่งเช่าของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ คือ นายบัณฑิต ศิริสัมพันธ์ และกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ ตำบลหนองพระ อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

นอกจากนั้นยังส่งเสริมการต่อยอดโดยการแปรรูปการนำทรัพยากรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและคุ้มค่าที่สุด ที่สำคัญคือการมุ่งไปที่ ZERO WASTE โดยมีการนำต้นข้าวอ่อนที่เหลือจากการเก็บเกี่ยวข้าวมาแปรรูปและเพิ่มมูลค่าผลผลิตให้เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพในรูป “ชาใบข้าว” เพื่อสร้างทางเลือกแก่ผู้บริโภค สร้างงาน สร้างเงินให้แก่เกษตรกรอย่างยั่งยืน

“…ข้าวสมุนไพรที่มีสารสำคัญถั่งเช่า ซึ่ง วว. เข้าไปช่วยพัฒนาดังกล่าว ขณะนี้ได้มีการจดอนุสิทธิบัตรในรูปการปลูกข้าวให้มีสารสำคัญของถั่งเช่า และผลิตภัณฑ์ข้าวที่ปลูกได้วางจำหน่ายในท้องตลาดแล้วภายใต้ชื่อผลิตภัณฑ์ คอร์ดี้พาวเวอร์ไรซ์ (Cordy Power Rice) เป็นหนึ่งในผลงานพัฒนานวัตกรรมอาหารปลอดภัยที่ วว. ภาคภูมิใจและร่วมขับเคลื่อนนโยบาย BCG สามารถนำองค์ความรู้ที่เชี่ยวชาญเข้าไปช่วยตอบโจทย์ให้แก่เกษตรกร ผู้ประกอบการได้อย่างเป็นรูปธรรม…” ผู้ว่าการ วว. กล่าว

ดร.พัชทรา มณีสินธุ์ รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม วว. กล่าวเพิ่มเติมว่า วว. พัฒนาข้าวสมุนไพรที่มีสารสำคัญถั่งเช่าร่วมกับเกษตรกรตั้งแต่ขั้นตอนการปลูกข้าว โดยใช้เศษเหลือจากการเพาะเห็ดถั่งเช่าในรูปปุ๋ยที่มีการควบคุมโดยเกษตรกรและทดสอบปริมาณสารโดย วว. ทำให้ผลผลิตมีปริมาณถั่งเช่าในอัตราที่เหมาะสมและมีประโยชน์ต่อร่างกาย จากการทดสอบปริมาณสารอาหารพบว่า ข้าวสมุนไพรที่มีสารสำคัญถั่งเช่า มีสารแกมมา โอริซานอล (Gamma Oryzanol) ในปริมาณสูง

โดยมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่มีคุณสมบัติเด่น ได้แก่ ช่วยป้องกันการเกิดการเปลี่ยนแปลงแป็นเซลล์ผิดปกติหรือเซลล์มะเร็ง ป้องกันเซลล์ผิวจากการถูกทำลายด้วยแสงแดด ลดระดับไขมันในเลือด ลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจอุดตัน เพิ่มการหลั่งสารเอ็นดอร์ฟินช่วยผ่อนหลายความเครียดและหลับสบาย กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนสำหรับการเจริญเติบโต ลดการสูญเสียแคลเซี่ยมทำให้ลดอัตราการเกิดโรคกระดูกพรุน และลดอัตราการเกิดภาวะวัยทอง (Menopause)

นอกเหนือจากสารสำคัญในถั่งเช่าแล้ว พบว่ามีสารคอร์ไดเซปิน (Cordycepin) ที่มีคุณสมบัติเพิ่มประสิทธิภาพการไหลเวียนของเลือด บำรุงและฟื้นฟูระบบการทำงานของไตและปอด ช่วยบรรเทาอาการไตอักเสบและนิ่วในไต นอกจากนั้นยังมีสารอะดีโนซีน (Adenosine) ที่ออกฤทธิ์ยับยั้งความผิดปกติของวงจรในหัวใจ ที่เป็นเหตุให้หัวใจเต้นผิดปกติ

“…นอกจากการวิจัยพัฒนากระบวนการปลูกข้าวให้มีความสม่ำเสมอและพัฒนาให้ผลผลิตข้าวมีคุณภาพแล้ว วว. ยังพัฒนาต่อยอดในด้านบรรจุภัณฑ์ให้แก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารด้วย เพื่อช่วยรักษาคุณภาพและลดความสูญเสียสินค้า ตลอดจนให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์และพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน เพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพในการส่งออกสินค้าอีกด้วย…” รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม วว. กล่าว

นายบัณฑิต ศิริสัมพันธ์ เกษตรกรร่วมโครงการฯ จากตำบลหนองพระ อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก กล่าวว่า เดิมทำการเกษตรปลูกข้าวทั้งบริโภคและจำหน่าย โดยการรวมกลุ่มของเกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียงและกลุ่มเครือญาติมาเป็นระยะเวลานานแล้วพบว่า มีการแข่งขันสูง จึงต้องการพัฒนาผลผลิตให้มีคุณภาพที่โดดเด่นและมีความแตกต่าง ซึ่งได้พิจารณาจากแนวโน้มผู้บริโภคที่มุ่งเน้นด้านการดูแลฟื้นฟูสุขภาพมากขึ้น

อีกทั้งทางเลือกในการเข้าถึงผลิตภัณฑ์อาหารที่ดีต่อสุขภาพในปัจจุบันก็เปิดกว้างทั้งช่องทางและวิธีการ จึงได้มาปรึกษา วว. และได้รับความช่วยเหลือมาอย่างต่อเนื่อง จนประสบผลสำเร็จสามารถผลิตข้าวสมุนไพรที่มีสารสำคัญถั่งเช่าออกจำหน่ายได้ในปัจจุบัน นอกจากนั้นยังสามารถนำใบข้าวมาผลิตเป็นชาชงดื่มเพื่อสุขภาพ ซึ่งมีปริมาณสารอาหารที่มีประโยชน์ นอกจากนั้นซังข้าวยังนำไปเป็นปุ๋ยสำหรับใช้หมุนเวียนในระบบการเกษตรของกลุ่มด้วย และในอนาคตจะมีการพัฒนาสารสำคัญในถั่งเช่ากับพืชชนิดอื่นๆ ต่อไป

 

สอบถามรายละเอียดและรับบริการจาก วว. ติ ดต่อได้ที่ โทร. 0 2577 9000, 0 2323 1672-80 (ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา) โทรสาร. 0 2577 9362 อีเมล tistr@tistr.or.th

Data Analysis

                                 โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ

                         หลักสูตร “การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย”

                                 วันที่ 18 – 20 พฤศจิกายน 2565

                              ณ ขวัญนคร สปอร์ต การ์เด้น รีสอร์ท

              เลขที่ 294 หมู่ 1 ตำบลสาริกา อำเภอเมืองนครนายก                                                              จังหวัดนครนายก 26000

 

1.หลักการและเหตุผล

งานวิจัยถือเป็นภารกิจหลักที่สำคัญประการหนึ่งของหน่วยงาน คุณภาพงานวิจัยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ได้แก่ การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งของคุณภาพงานวิจัย นำมาซึ่งงานวิจัยที่มีคุณภาพ

บริษัท ไบชานา โกลบอลเทรด จำกัด เห็นความสำคัญของเทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย จึงได้จัดโครงการอบรมเรื่อง การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย เพื่อขอรับทุนอุดหนุนจากหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เรียนรู้เทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยที่ตนสนใจได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง เพื่อนำข้อมูลที่ได้มากำหนดเป็นกรอบแนวคิดในการดำเนินการวิจัยต่อไป

 

2.วัตถุประสงค์

1) เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ทางด้านการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนอุดหนุนจากหน่วยงานทั้งภายใน และภายนอกอย่างมีประสิทธิภาพ

2) เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ และเรียนรู้ประสบการณ์เกี่ยวกับการวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ

3) เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม สามารถจัดทำข้อเสนอการวิจัยได้

 

3. โครงสร้างหลักสูตร

ประกอบด้วย ภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ และภาคกิจกรรมเสริมหลักสูตร รวม 18 ชั่วโมง โดยมี

รายละเอียด ดังนี้

 

3.1 ภาคทฤษฎี ประกอบด้วยเนื้อหา จำนวน 9 ชั่วโมง ดังนี้

3.1.1 หลักการเขียนข้อเสนอการวิจัย 1 ชั่วโมง

3.1.2 การกำหนดโจทย์การวิจัยแบบบูรณาการที่สอดคล้องกับนโยบายการวิจัย

ของประเทศ ตามบริบทของชุมชน และงานตามภารกิจหลัก 1 ชั่วโมง

3.1.3 การทบทวนวรรณกรรม การสังเคราะห์วรรณกรรม และกรอบแนวคิด 1 ชั่วโมง

3.1.4. การออกแบบการวิจัย 6 ชั่วโมง

1. รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร การสุ่มตัวอย่าง การสร้างเครื่องมือ

การวิเคราะห์ข้อมูล และการประมวลผลข้อมูล

2. รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากร การเลือกกลุ่มตัวอย่าง การสร้างเครื่องมือ

การวิเคราะห์ข้อมูล และการประมวลผลข้อมูล

 

3.2 ภาคปฏิบัติฝึกปฏิบัติเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยกลุ่ม ประกอบด้วยเนื้อหา 9 ชั่วโมง

3.2.1 ฝึกปฏิบัติกำหนดโจทย์ และบูรณาการความคิดร่วมกับสมาชิกในกลุ่ม 2 ชั่วโมง

(เพื่อกำหนดปัญหาวิจัยในแต่ละพื้นที่ และสรุปการกำหนดโจทย์วิจัย

คำถามวิจัย และวัตถุประสงค์)

3.2.2 ฝึกปฏิบัติเขียนการทบทวนวรรณกรรม และกรอบแนวคิด 1 ชั่วโมง (การสังเคราะห์วรรณกรรม)

3.2.3 ฝึกปฏิบัติการออกแบบการวิจัย 3 ชั่วโมง

2.2.4นำเสนอข้อเสนอโครงการวิจัย 3 ชั่วโมง

(บูรณาการความรู้ และนำสนอการสร้างเครือข่ายวิจัยจากการอบรม)

 

3.3 กิจกรรมเสริมหลักสูตรอื่นๆ

ปฐมนิเทศ Homeroom แนะนำสมาชิก เลือกกรรมการรุ่น ปัจฉิมนิเทศ รับวุฒิบัตร

และพิธีเปิด-ปิดการฝึกอบรม

 

4. วิธีการฝึกอบรม

4.1 การบรรยาย

4.2 ฝึกปฏิบัติ และทำกิจกรรมร่วมกัน

4.3 ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

 

5. วิทยากร

1. รองศาสตราจารย์ ดร.คงศักดิ์ ศรีแก้ว อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

2.รองศาสตราจารย์ ดร.สุวารีย์ วงศ์วัฒนา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไบชานา โกลบอลเทรด จำกัด

และอดีตอาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

3.รองศาสตรจารย์ บุษบา หินเธาว์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

4.นายบัณฑิต ศิริสัมพันธ์ ประธานกรรมการบริหารบริษัท ไบชานา โกลบอลเทรด จำกัด

5.นายศักดิ์ดา ภูมิพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไบชานา โกลบอลเทรด จำกัด

 

6. กลุ่มเป้าหมาย และคุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม

ครู อาจารย์ พนักงาน นักวิชาการ นักวิจัย ในหน่วยงานภาครัฐ/ภาคเอกชน นักศึกษา

และผู้สนใจทั่วไป จำนวน 30 คน

โดยมีคุณสมบัติ ดังนี้

6.1 มีสัญชาติไทย

6.2 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ในสาขาวิชาการต่าง ๆ หรือปฏิบัติงานในหน่วยงานภาครัฐ

หรือเอกชน หรือหน่วยงานท้องถิ่น

6.3 เป็นผู้ที่สนใจจริงและมุ่งมั่นในการเข้ารับการฝึกอบรม สามารถเข้ารับการฝึกอบรมได้ตลอด

หลักสูตร และได้รับอนุมัติจากหน่วยงานต้นสังกัด

 

7. ระยะเวลาการฝึกอบรม

รุ่นละ 3 วัน จำนวน 18 ชั่วโมง

 

8. วันและสถานที่ฝึกอบรม

วันที่ 18 – 20 พฤศจิกายน 2556

 

สถานที่ฝึกอบรม

ขวัญนคร สปอร์ต การ์เด้น รีสอร์ท  เลขที่ 294 หมู่ 1 ตำบลสาริกา อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก 26000

 

9. การสมัครเข้ารับการฝึกอบรม

ผู้ที่สนใจสามารถดูรายละเอียดโครงการ และสมัครได้ที่ www.baichana.com หรือที่ https://forms.gle/C85F7ZyBJqn4GXCC9 หรือ แสกนที่ QR Code ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 20 ตุลาคม 2565 

10. การประเมินผล

10.1 ประเมินความคิดเห็นของผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการฝึกอบรม

10.2 ประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม โดยพิจารณาจาก

10.2.1 จำนวนเวลาการเข้ารับการฝึกอบรมในแต่ละกิจกรรมต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของ

จำนวนเวลาอบรมทั้งหมดที่กำหนดในหลักสูตร และไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนเวลาในภาคทฤษฎี และไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนเวลาในภาคปฏิบัติ

10.2.2 ข้อเสนอโครงการวิจัยของกลุ่ม

10.2.3 ประเมินความรู้ของผู้เข้ารับการฝึกอบรมโดยการประเมินตนเองก่อนและหลังการอบรม

 

11. การติดตามและประเมินผลภายหลังการฝึกอบรม

ติดตามผลผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลังสิ้นสุดการฝึกอบรม โดยการส่งแบบสอบถาม การสัมภาษณ์

 

12. เกณฑ์การมอบวุฒิบัตรให้แก่ผู้ผ่านการฝึกอบรม

โดยพิจารณาจากเกณฑ์ ดังนี้

1. จำนวนเวลาการเข้ารับการฝึกอบรมในแต่ละกิจกรรมต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของ

จำนวนเวลาอบรมทั้งหมดที่กำหนดในหลักสูตร และไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนเวลาในภาคทฤษฎี และไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนเวลาในภาคปฏิบัติ

2. ข้อเสนอโครงการวิจัยของกลุ่ม

 

13. งบประมาณ

ค่าลงทะเบียนจากผู้เข้ารับการฝึกอบรมคนละ 9,000 บ.

 

14. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

14.1 สร้างนักวิจัยให้มีความรู้และประสบการณ์ในการทำวิจัยอย่างมีระบบ

14.2 ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปทำวิจัย และ

ปรับปรุงกระบวนการวิจัย ที่หน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

14.3 ช่วยให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถสร้างผลงานวิจัยอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง รวมถึเป็นการ

เพิ่มจำนวนนักวิจัยที่มีคุณภาพให้แก่ประเทศ

14.4 เพื่อส่งเสริมและยกระดับการวิจัยของประเทศให้ผลการวิจัยตอบสนองภาคการ

ผลิตและภาคบริการ

14.5 เพื่อพัฒนาผลงานวิจัยของประเทศ ให้มีคุณภาพและปริมาณมากขึ้นและสามารถใช้

งานวิจัยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

14.6 ได้นักวิจัยมีวิสัยทัศน์กว้างไกล และมีเครือข่ายการวิจัย

 

15. หน่วยงานที่รับผิดชอบ

บริษัท ไบชานา โกลบอลเทรด จำกัด

                               …………………………………………………………………….

 

                               กำหนดการโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ


วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2565
8.30 – 9.00 น.ลงทะเบียน
9.00 – 9.15 น.

พิธีเปิดการฝึกอบรม

– โดยนายบัณฑิต ศิริสัมพันธ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไบชานา โกลบอลเทรด จำกัด

9.15 – 10.15 น.

บรรยายหัวข้อ หลักการเขียนข้อเสนอการวิจัย

– โดย รองศาสตราจารย์ ดร.คงศักดิ์ ศรีแก้ว อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

10.15 – 10.30 น.พักรับประทานอาหารว่าง
10.30 – 11.30 น.

บรรยายหัวข้อ การกำหนดโจทย์การวิจัยแบบบูรณาการที่สอดคล้องกับนโยบายการวิจัยของประเทศ ตามบริบทของชุมชน และงานตามภารกิจหลัก

– โดย รองศาสตราจารย์ ดร.คงศักดิ์ ศรีแก้ว อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

11.30 – 12.30 น.

บรรยายหัวข้อ การทบทวนวรรณกรรม และกรอบแนวคิดการวิจัย

– โดย รองศาสตราจารย์ ดร.คงศักดิ์ ศรีแก้ว อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

12.30 – 13.30 น.พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.30 – 15.00 น.

บรรยายหัวข้อ การออกแบบการวิจัย

-รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร กลุ่มตัวอย่าง การสร้างเครื่องมือ การวิเคราะห์ข้อมูล และการสรุปผลข้อมูล โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุวารีย์ วงศ์วัฒนา กรรมการผู้จัดการบริษัท

ไบชานา โกลบอลเทรด จำกัด และอดีตอาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

15.00 – 15.15 น.พักรับประทานอาหารว่าง
15.15 – 16.45 น.

บรรยายหัวข้อ การออกแบบการวิจัย(ต่อ)

– รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร การสุ่มตัวอย่าง การสร้าง เครื่องมือ การวิเคราะห์ข้อมูล และการสรุปผลข้อมูล โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุวารีย์ วงศ์วัฒนา

16.45 – 17.00 น.

สรุป บูรณาการความรู้ โดย นายศักดิ์ดา ภูมิพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไบชานา

โกลบอลเทรด จำกัด


วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน 2565
8.30 – 9.00 น.ลงทะเบียน
9.00 – 10.30 น.

บรรยายหัวข้อ การออกแบบการวิจัย (ต่อ)

-รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ การเลือกตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูล และการสรุปผลข้อมูล

– โดย รองศาสตรจารย์ บุษบา หินเธาว์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

10.30 – 10.45 น.พักรับประทานอาหารว่าง
10.45 – 12.00 น.

บรรยายหัวข้อ การออกแบบการวิจัย (ต่อ)

-รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ การเลือกตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูล และการสรุปผลข้อมูล

– โดย รองศาสตรจารย์ บุษบา หินเธาว์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

12.30 – 13.30 น.พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.30 – 14.45 น.

ฝึกปฏิบัติเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย

กำหนดโจทย์และบูรณาการความคิดร่วมกับสมาชิกในกลุ่ม(เพื่อกำหนดปัญหาวิจัยในแต่ละพื้นที่ และสรุปการกำหนดโจทย์วิจัย คำถามวิจัย และวัตถุประสงค์)

โดย 1.รองศาสตราจารย์ ดร.สุวารีย์ วงศ์วัฒนา

2.นายบัณฑิต ศิริสัมพันธ์

3.นายศักดิ์ดา ภูมิพันธุ์

14.45 – 15.00พักรับประทานอาหารว่าง
15.00 – 16.45

ฝึกปฏิบัติเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย(ต่อ)

ฝึกปฏิบัติเขียนการทบทวนวรรณกรรม และกรอบแนวคิด

โดย 1.รองศาสตราจารย์ ดร.สุวารีย์ วงศ์วัฒนา 2.นายบัณฑิต ศิริสัมพันธ์

3.นายศักดิ์ดา ภูมิพันธุ์

16.45 – 17.00 น.

สรุป บูรณาการความรู้

โดย นายศักดิ์ดา ภูมิพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไบชานา โกลบอลเทรด จำกัด


วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2565
8.30 – 9.00 น.ลงทะเบียน
9.00 – 10.30 น.

ฝึกปฏิบัติเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย(ต่อ)

  • ฝึกปฏิบัติการออกแบบการวิจัย

โดย 1.รองศาสตราจารย์ ดร.สุวารีย์ วงศ์วัฒนา 2.นายบัณฑิต ศิริสัมพันธ์

3.นายศักดิ์ดา ภูมิพันธุ์

10.30 – 10.45 น.พักรับประทานอาหารว่าง
10.45 – 12.30 น.

ฝึกปฏิบัติเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย(ต่อ)

  • ฝึกปฏิบัติการออกแบบการวิจัย(ต่อ)

โดย 1.รองศาสตราจารย์ ดร.สุวารีย์ วงศ์วัฒนา 2.นายบัณฑิต ศิริสัมพันธ์

3.นายศักดิ์ดา ภูมิพันธุ์

12.30 – 13.30 น.พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.30 – 14.45 น.

นำเสนอโครงการวิจัย

โดย 1.รองศาสตราจารย์ ดร.สุวารีย์ วงศ์วัฒนา 2.นายบัณฑิต ศิริสัมพันธ์

3.นายศักดิ์ดา ภูมิพันธุ์

14.45 – 15.00พักรับประธานอาหารว่าง
15.00 – 16.30

นำเสนอโครงการวิจัย (ต่อ)

โดย 1.รองศาสตราจารย์ ดร.สุวารีย์ วงศ์วัฒนา

2.นายบัณฑิต ศิริสัมพันธ์

3.นายศักดิ์ดา ภูมิพันธุ์

16.30 – 16.45

สรุป บูรณาการความรู้ และนำเสนอการสร้างเครือข่ายวิจัยจากการอบรม

โดย นายศักดิ์ดา ภูมิพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไบชานา โกลบอลเทรด จำกัด

16.45 – 17.00 น.พิธีปิดการอบรม และมอบวุฒิบัตร โดย นายบัณฑิต ศิริสัมพันธ์ ประธานกรรมการบริหารบริษัท ไบชานา โกลบอลเทรด จำกัด

Cordy

สนใจสั่งซื้อผลิตภัณฑ์

Rice Leaves Tea

ชาใบข้าว

คุณประโยชน์ของการดื่มชา

ครื่องดื่มประเภทน้ำชามีมาช้านานกว่า 4,700 ปี นอกเหนือจากการเป็นเครื่องดื่มแก้กระหาย แก้ง่วง ยังพบว่าสามารถแก้สารพัดโรคได้อีกด้วย เช่น ต้านอนุมูลอิสสระที่เกิดขึ้นภายในเซลของร่างกาย ต้านอาการอักเสบ ต้านเชื้อจุลินทรีย์ในลำไส้ ป้องกันตับจากสารพิษ และโรคอื่นๆอีกมากมายที่เกิดจากอนุมูลอิสสระ

 

 

อย่างไรก็ตาม การที่เครื่องดื่มชาให้ประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย เนื่องจากมีองค์ประกอบของสารสำคัญในใบชาที่เรียกว่า แทนนิน หรือ ทีโพลีฟีนอล (Tea polyphenols) สารสำคัญกลุ่มนี้พบมากในพืชเกือบทุกชนิด แต่ละชนิดอาจจะมีโครงสร้างทางเคมีที่แตกต่างกันไป

 

 

สำหรับผู้ที่นิยมดื่มน้ำชาร้อนๆ สารสำคัญที่เป็นประโยชน์คือ ‘คาเทคชินส์’ (Catechins) จะถูกความร้อนทำลายไปเกือบหมด คงเหลือแต่ความหอมและรสชาด ถ้าต้องการให้ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายแต่ยังนิยมชาร้อนๆ ควรดื่มน้ำชาที่เข้มข้น เช่นเดียวกับคนจีนแต้จิ๋ว ที่นิยม

ชงชาจีนรสเข้มข้นในถ้วยชาใบจิ๋วคล้ายกับการดื่มกาแฟเอ็กซ์เพรซโซ่ ความเข้มข้นของใบชาจะทำให้มีปริมาณสารคาเทคชินส์ที่เข้มข้น และแม้ว่าสารเหล่านี้จะสลายตัวไปบางส่วนเมื่อโดนความร้อนจากน้ำร้อน แต่จะยังคงมีบางส่วนที่หลงเหลืออยู่ ที่พอจะให้ประโยชน์ต่อสุขภาพได้

 

 

การดื่มน้ำชาไม่ว่าจะชาร้อนหรือชาแช่เย็น ไม่ควรแต่งรสด้วยนมทุกชนิด ไม่ว่าจะน้ำนมสด นมข้นหรือนมผง เพราะโปรตีนในนมจะไปจับกับสารสำคัญในชา และทำลายประสิทธิภาพสารออกฤทธิ์ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย วิธีการดื่มชาเขียวให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพ จึงควรดื่มน้ำชาล้วนๆไม่ควรปรุงแต่ง สำหรับผู้ที่ชื่นชอบชาเย็นใส่นม จะไม่ได้ประโยชน์จากใบชาเลย

 

 

ผู้ที่รับประทานวิตามินเสริม เช่น ธาตุเหล็ก เกลือแร่ หรือยาที่คล้ายคลึงกัน ควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำชาร่วมไปด้วย เพราะสารสำคัญจากใบชาจะไปตกตะกอนธาตุเหล็กหรือเกลือแร่ไม่ให้ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ในกรณีที่ดื่มน้ำชาร่วมกับการรับประทานอาหาร แร่ธาตุต่างๆจากผักใบเขียวหรือจากผลไม้ก็จะถูกสารสำคัญจากชาจับไว้หมดไม่ให้ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายเช่นกัน

 

สนใจสั่งซื้อผลิตภัณฑ์

Herbal Rice

ข้าวสมุนไพรถั่งเช่า

จุดเริ่มต้นของการพัฒนาข้าวมาสู่ข้าวสมุนไพร Cordy Power Rice มาจากปัญหาการขาดสารสำคัญในการพื้นฟูร่างกาย และเสริมสร้างภูมิคุมกันร่างกายของคนส่วนใหญ่ในปัจจุบัน ซึ่งส่งผลออกมาในรูปแบบต่างๆ เมื่อเรามองเห็นถึงปัญหานี้ก็อยากพัฒนาข้าวที่เป็นสมุนไพรที่ดีต่อสุขภาพเพื่อผู้บริโภค โดยมีโจทย์ว่าจะต้องเป็นข้าวที่ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเพาะปลูกแบบธรรมชาติ และเป็นพืชที่มีสารสำคัญทางยาอย่างสูงเหนือความคาดหมายที่ผู้บริโภคสามารถซื้อได้และบริโภคได้ทุกวัน

 

Problem : ปัญหาของผู้บริโภคในปัจจุบัน

Solution : ทางแก้ปัญหา

Product : สินค้า

Cordy Power Rice : ข้าวสมุนไพรถั่งเช่า

ข้าวสมุนไพร Cordy Power Rice เป็นกระบวนการผลิตที่แตกต่างหลายอย่าง เรามาเพิ่มคุณค่าทางอาหารด้วยการเติมสารสกัดจากถั่งเช่า โดยใช้กระบวนการวิถีเกษตรภูมิปัญญาวิวัฒน์ธรรมชาติ ผสมผสานกับแนวคิดด้านการสร้างนวัตกรรมเข้ามามีส่วนช่วยในการเพาะปลูกตั้งแต่เริ่มทำการเพาะปลูก ซึ่งการเป็นผู้ผลิตข้าวสมุนไพร ต้องมีการออกแบบการเพาะปลูกและพัฒนาข้าวชนิดนี้ จากการใช้ข้าวรุ่นสู่รุ่นมาตั้งแต่ต้นเป็นระยะเวลาหลายปี จนเกิดเป็นข้าวสมุนไพรคุณภาพสูง 



สนใจสั่งซื้อผลิตภัณฑ์

Suwaree

รองศาสตราจารย์ ดร.สุวารีย์ วงศ์วัฒนา

ที่อยู่ : 131/1 หมู่ 14 ตำบลพรหมณี อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก 26000

โทรศัพท์ 061-2670220

e-mail : suvaree@baichanal.com

ตำแหน่งทางวิชาการ รองศาสตราจารย์

ระวัติการศึกษา

วุฒิการศึกษา

จากสถาบัน

ปีที่จบการศึกษา

ปร.ด. : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาทางการศึกษา)

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

2557

นศ.ม : นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต(สาขาวิชานิเทศศาสตรพัฒนาการ)

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

2536

บธ.บ : บริหารธุรกิจบัณฑิต(สาขาวิชาการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์)

มหาวิทยาลัยรามคำแหง

2527

ประสบการณ์บริหาร

1. หัวหน้าภาควิชาการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ ปี พ.ศ. 2538

2. รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะวิทยาการจัดการ ปี พ.ศ. 2540

3. รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยและบริการวิชาการ ปี พ.ศ. 2545

4. ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิชาการ ปี พ.ศ. 2546-2548

5. คณบดีคณะวิทยาการจัดการ 2 สมัย ปี พ.ศ.2549-2556

6. คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย พ.ศ.2558-2562

7. รักษาราชการแทนอธิการบดี พ.ย.2561 – ก.พ.2562

ประสบการณ์การสอน

ระดับปริญญาตรี รายวิชาหลักการประชาสัมพันธ์ หลักการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ การวางแผนการประชาสัมพันธ์ หลักและทฤษฎีการสื่อสาร การพัฒนาบุคลิกภาพเพื่องานนิเทศศาสตร์ สัมมนาการประชาสัมพันธ์ สัมมนาวารสารศาสตร์ การวิจัยนิเทศศาสตร์ การวิจัยการประชาสัมพันธ์ การวิจัยวารสารศาสตร์ การวิจัยการสื่อสารบูรณาการ การวิจัยธุรกิจ และการวิจัยการตลาด

ระดับปริญญาโท รายวิชาระเบียบวิธีวิจัย การวิจัยนวัตกรรมการสื่อสาร และสัมมนาทางนวัตกรรมการสื่อสาร

ระดับปริญญาเอก รายวิชาวิธีวิทยาการวิจัยขั้นสูง

ประสบการณ์การอบรม

๑. หลักสูตร การอบรมสัมมนาประชาสัมพันธ์ รุ่นที่ ๒ จากคุรุสภาและโรงเรียน

การประชาสัมพันธ์ ระหว่างวันที่ ๑ – ๗ พฤษภาคม ๒๕๓๓

๒. การอบรมเรื่อง การแปรผลจากการวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ จากสถาบันวิจัย

พฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ๒๖ – ๒๙ เมษายน ๒๕๔๒

๒.๑ หลักสูตรการวิเคราะห์สมมุติฐานที่เกี่ยวกับค่าเฉลี่ย (t – test)

๒.๒ หลักสูตร การวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA)

๒.๓ หลักสูตรการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปร ๒ ตัว (Correlation)

๒.๔ หลักสูตรการวิเคราะห์ถดถอย พหุคูณ (Multiple Regression Analysis)

๒.๕ หลักสูตรการวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุเบื้องต้น ( Path Analysis)

๒.๖ หลักสูตรการวิเคราะห์เครื่องมือวัดตัวแปรตามแนว CTT

๒.๗ หลักสูตร การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (ANCOVA)

๒.๘ หลักสูตร การวิเคราะห์เปรียบเทียบตัวแปรหลายตัว (MANOVA)

๓. การอบรมหลักสูตรการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับงานวิจัย ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS

รุ่นที่ ๑๕ จากศูนย์การศึกษาต่อเนื่องแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ระหว่างวันที่ ๒๑ – ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓

๔. การอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการวิจัยปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ตามแนว

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๔๔

  1. การอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรการวิเคราะห์สถิติชั้นสูง จากภาควิชาวิจัยการศึกษา คณะ

ครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๔๔

  1. การอบรมหลักสูตร“วิทยากรหลักสูตรการพัฒนานักวิจัย” (Training for the trainers) รุ่น ๑

โดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยนเรศวร และมหาวิทยาลัย ราชภัฏพิบูลสงคราม วันเวลาฝึกอบรมวันที่ ๒๘ ก.ค. – ๑ ส.ค. ๒๕๕๗ ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก

  1. การอบรมหลักสูตร e-learning พ.ศ.๒๕๕๗
  2. การอบรมการพัฒนาหัวข้อและการเขียนเค้าโครงวิทยานิพนธ์ พ.ศ.๒๕๕๘
  3. การอบรมการเขียนบทความและการตีพิมพ์ พ.ศ.๒๕๕๘
  4. การอบรมการใช้โปรแกรมสถิติสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการวิจัยโปรแกรม AMOS

พ.ศ.๒๕๕๙

  1. การอบรมการใช้โปรแกรมสถิติสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการวิจัยโปรแกรม LISREL

พ.ศ.๒๕๕9

ประสบการณ์เป็นวิทยากร/กรรมการทางวิชาการ

๑. ประธานกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ระดับปริญญาเอกนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

๒. กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม ระดับปริญญาโท สาขาวิชาการจัดการประยุกต์ ปริญญาเอกสาขาวิชาการวิจัยและประเมินทางการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

๓. กรรมการพิจารณาผลงานวิชาการ บทความวิจัย ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

๔. บรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม กองบรรณาธิการวารสารวิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และกองบรรณาธิการวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

5. กรรมการประเมินคุณภาพภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

6. วิทยากรโครงการฝึกอบรม “สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่”(ลูกไก่) ๑๖-๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

เอกสาร ตำรา ผลงานวิจัย และผลงานวิชาการ

เอกสาร/ตำรา

๑. เอกสารประกอบการสอนวิชา การพัฒนาบุคลิกภาพเพื่อการประชาสัมพันธ์

(ขอผลงานวิชาการตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์)

๒. เอกสารประกอบการสอนรายวิชา หลักการโฆษณา

๓. เอกสารประกอบคำสอน รายวิชา การวิจัยนิเทศศาสตร์

(ขอผลงานวิชาการตำแหน่ง รองศาสตราจารย์)

๔. ตำราเรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติสำหรับการวิจัยนิเทศศาสตร์

(ขอผลงานวิชาการตำแหน่ง รองศาสตราจารย์)

ผลงานวิจัย

1.การวิจัยเรื่อง การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนและความคิดเห็นของประชาชน

ต่อบทบาทในการพัฒนาสังคมของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ในจังหวัดพิษณุโลก พ.ศ. ๒๕๓๙

(ขอผลงานวิชาการตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์)

– ทุนสถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม

2.การวิจัยเรื่อง การศึกษาคุณลักษณะความเป็นเลิศในเชิงบริหารธุรกิจ ขนาดย่อมในเขต

ภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ (วิจัยร่วม)

– ทุนสถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม

3.การวิจัย เรื่อง ความคิดเห็นของนักศึกษาโปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์สถาบันราชภัฏ

กลุ่มภาคเหนือตอนล่าง ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน ในโปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์

พ.ศ. ๒๕๔๑ – ทุนสถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม

4.การวิจัยเรื่อง บทบาทของสื่อวิทยุและโทรทัศน์ในการให้การศึกษาการพัฒนาคุณภาพ

ชีวิตของประชาชนในจังหวัดพิษณุโลก ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ. ๒๕๔๒

– ทุนสถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม

5. การวิจัยเรื่องความคาดหวังและความพึงพอใจของประชาชนในการเปิดรับข่าวสาร

จากสื่อประชาสัมพันธ์ของสถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม พ.ศ. ๒๕๔๓

– ทุนสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ

6. การวิจัยเรื่อง การศึกษาบทบาทของกลุ่มผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป ในการพัฒนาเศรษฐกิจ

ของชุมชนในชนบท : กรณีศึกษาเฉพาะกรณีบ้านแหลมมะค่า อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก

พ.ศ. ๒๕๔๓

– ทุนสถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม

7. การวิจัยเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อการขาดความรับผิดชอบทางจริยธรรมของสื่อมวลชน

ในมุมของนักศึกษา อาจารย์ และผู้ปฏิบัติด้านสื่อสารมวลชนในจังหวัดพิษณุโลก พ.ศ. ๒๕๔๔

– ทุนสถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม

8. การวิจัยเรื่อง การศึกษาความพึงพอใจของประชาชนต่อบทบาทของสถาบันราชภัฏ

พิบูลสงคราม ในนโยบายแผนพัฒนาการศึกษา ระยะที่ ๘ (๒๕๔๐ – ๒๕๔๔) พ.ศ. ๒๕๔๕

– ทุนสถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม

9. การวิจัย เรื่อง การศึกษาความต้องการแรงงานระดับอุดมศึกษาในแหล่งงานของภาคเหนือตอนล่าง พ.ศ. ๒๕๔๕ (วิจัยร่วม)

(การวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการวางแผน/บริหารภายใต้โครงการเตรียมความพร้อม เพื่อเป็นนิติบุคลและพัฒนาระบบเพื่อรองรับการจัดสรรงบประมาณระบบเงินอุดหนุนทั่วไป)

– ทุนสถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม

๑0. การวิจัยเรื่อง การประเมินหลักสูตรนิเทศศาสตร์ของสถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม :

ศึกษาเฉพาะกรณี สถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก พ.ศ. ๒๕๔๖

– ทุนจากสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ

๑1. การวิจัยเรื่อง การศึกษาความต้องการและความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อโครงการการจัดการศึกษาสำหรับปวงชนเพื่อปริญญา(กศ.ป.ป.) ของสถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม

พ.ศ. ๒๕๔๗

-ทุนมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

๑2. การศึกษาความรู้ และการปฏิบัติตามแนวพระราชดำรัสปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ของประชาชนในจังหวัดพิษณุโลก พ.ศ. ๒๕๕๑

-ทุนมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

๑3.การศึกษาความรู้ และการปฏิบัติตามแนวพระราชดำรัสปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ของประชาชนในจังหวัดพิษณุโลก พ.ศ. ๒๕๕๒

-ทุนมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

๑4.รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. ๒๕๕๖ (วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก)

๑5.การศึกษาภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม พ.ศ. ๒๕๕๘

-ทุนมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

16.การประเมินคุณภาพวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

พ.ศ. ๒๕๕๙ (วิจัยร่วม)

-ทุนบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

17.การประเมินคุณภาพบทความวิจัยในการประชุมสัมมนาวิชาการการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ พ.ศ. ๒๕61 (วิจัยร่วม)

-ทุนบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

18.การศึกษาปัญหาในการทำวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม พ.ศ.2562 (วิจัยร่วม)

-ทุนบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

19.การพัฒนาการเรียนออนไลน์รายวิชาระเบียบวิธีวิจัยนิเทศศาสตร์ สำหรับนักศึกษาสาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม พ.ศ.2564

-ทุนคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

20.การรับรู้สภาพปัจจุบันและความคาดหวังของอาจารย์และนักศึกษาต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม พ.ศ.2565

ผลงานทางวิชาการ

ลำดับ

ประเภท

รายการบรรณานุกรม

1

บทความวิจัย

สุวารีย์ วงศ์วัฒนา,ลำเนา เอี่ยมสะอาด,ปรัชญา โพธิหัง และพิชญาพร ประครองใจ.(2559).การศึกษาภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2559 หน้า 1-14.

2

บทความวิจัย

อัจฉดาวรรณ พรหมวัลย์, ลำเนา เอี่ยมสะอาด และสุวารีย์ วงศ์วัฒนา.(2559). ปัญหาในการจัดเก็บและชำระภาษีบำรุงท้องที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลราวต้นจันทร์ อำเภอศรีสำโรง จ.สุโขทัย.รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ “วิทยาการจัดการวิชาการ 2016 : วิจัยบูรณาการสู่สังคมอาเซียนและสากล” โดยเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ หน้า 137-148 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ 11 มีนาคม 2559

3

บทความวิจัย

ภัทราวรรณ เหล่าเขตกิจ, ลำเนา เอี่ยมสะอาด และสุวารีย์ วงศ์วัฒนา.(2560). ความต้องการสวัสดิการของข้าราชการตำรวจ กองบังคับการอำนวยการตำรวจภูธรภาค 6 .รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ พิบูลสงครามวิจัย ครั้งที่ 3 ประจำปี พ.ศ. 2560 “Thailand 4.0 นวัตกรรมและการวิจัยเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” 23-24 มีนาคม 2560 ฉบับที่ 1 หน้า 677-682 สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

4

บทความวิจัย

ดาริน เทพทองดี, พรสวรรค์ พ่วงโพธิ์ และสุวารีย์วงศ์วัฒนา(2560).การเปิดรับข่าวสารและทัศนคติของนักศึกษาภาคปกติคณะวิทยาการจัดการ ที่มีต่อการประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ พิบูลสงครามวิจัย ครั้งที่ 3 ประจำปี พ.ศ. 2560 “Thailand 4.0 นวัตกรรมและการวิจัยเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” 23-24 มีนาคม 2560 ฉบับที่ 1 หน้า 688-693 สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

5

บทความวิจัย

ดารุณี บุญทั่ง,นภารัตน์ ใจพอ และสุวารีย์ วงศ์วัฒนา(2560).การรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม .รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ พิบูลสงครามวิจัย ครั้งที่ 3 ประจำปี พ.ศ. 2560 “Thailand 4.0 นวัตกรรมและการวิจัยเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” 23-24 มีนาคม 2560 ฉบับที่ 1 หน้า 694-697 สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.

6

บทความวิจัย

วสันต์ วังสุข, สุทธิดา คำสุม, ณัฐดนัย จันทะคุณ,รัฐพงษ์ พันอินทร์ และสุวารีย์ วงศ์วัฒนา.(2560). การเปิดรับข่าวสารและทัศนคติของนักศึกษาภาคปกติ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามที่มีต่อสื่อภาพยนตร์. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ พิบูลสงครามวิจัย ครั้งที่ 3 ประจำปี พ.ศ. 2560 “Thailand 4.0 นวัตกรรมและการวิจัยเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” 23-24 มีนาคม 2560 ฉบับที่ 1 หน้า 683-687 สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.

7

บทความวิจัย

ขนิษฐา กริมหนู,ชลาทิพย์ ฟักทอง, นฏกร พันธุ์อุดม, นิตยา ขันทองดี,แพรวพรรณ ปัดถา,สุกัญญา พุ่มม่วง,ภานุพงษ์ สาสะกุลรี, สุวารีย์ วงศ์วัฒนา, ลำเนา เอี่ยมสอาด และวราภรณ์ ซื่อประดิษฐ์กุล.(2561).การศึกษาพฤติกรรมการรับข่าวสารและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงครามของนักศึกษาภาคปกติ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม .รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ พิบูลสงครามวิจัย ครั้งที่ 4 ประจำปี พ.ศ. 2561 “Thailand 4.0 นวัตกรรมและการวิจัยเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน”เมื่อ 23 มีนาคม 2561.ฉบับที่ 1 หน้า 377-381 สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.

8

บทความวิจัย

จิรวัฒน์ ทองสุข, ปทุมรัตน์ ปรางวิรุฬห์, วริศรา อนุสิทธิ์, ภาสวิทย์ ดีเทิดเกียรติ, ยุรนันท์ รอดทุ่ง, สุวารีย์ วงศ์วัฒนา, ลำเนา เอี่ยมสอาด และ วราภรณ์ ซื่อประดิษฐ์กุล.(2561).การรับรู้ถึงประโยชน์และความพึงพอใจในการรับชมรายการข่าวอาชญากรรมจากสื่อโทรทัศน์ของนักศึกษาภาคปกติ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ พิบูลสงครามวิจัย ครั้งที่ 4 ประจำปี พ.ศ. 2561 “Thailand 4.0 นวัตกรรมและการวิจัยเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” 23 มีนาคม 2561.ฉบับที่ 1 หน้า 366-371 สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.

9

บทความวิจัย

ศีลดา สุขเกิด,ชนกนันท์ คุ่ยปรางค์,รจชรินทร์ญา ศรีอินทร์,สิรินทร์ทิพย์ ขันทรี, สุวารีย์ วงศ์วัฒนา, ลำเนา เอี่ยมสอาด และ วราภรณ์ ซื่อประดิษฐ์กุล.(2561).การศึกษาการรับรู้และทัศนคติที่มีต่อภาพลักษณ์ของสาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ของนักศึกษาภาคปกติ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม.รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ พิบูลสงครามวิจัย ครั้งที่ 4 ประจำปี พ.ศ. 2561“Thailand 4.0 นวัตกรรมและการวิจัยเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” 23 มีนาคม 2561.ฉบับที่ 1 หน้า 360-365 สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.

10

บทความวิจัย

มณิสรา นครจันทร์, ณัฐกานต์ อ ามาต,ปิยพร โชพุดซา,เกียรติก้อง นาคโสภณ, พฤติพันธ์ อ่อนบัว, สุวารีย์ วงศ์วัฒนา, ลำเนา เอี่ยมสะอาด และวราภรณ์ซื่อประดิษฐ์กุล.(2561). พฤติกรรมการรับรู้ข่าวสาร และทัศนคติ ที่มีต่อการเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ ของนักศึกษาภาคปกติ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ พิบูลสงครามวิจัย ครั้งที่ 4 ประจำปี พ.ศ. 2561“Thailand 4.0 นวัตกรรมและการวิจัยเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” 23 มีนาคม 2561.ฉบับที่ 1 หน้า 372-376 สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.

11

บทความวิจัย

สุวารีย์ วงศ์วัฒนา,ยุพร ริมชลการ,พัชราวลัย มีทรัพย์และอัญชนา ปรีชาวรพันธ์.(2561).การประเมินคุณภาพวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2561.  หน้า 33-44

12

บทความวิจัย

สุวารีย์ วงศ์วัฒนา,ยุพร ริมชลการ,ไพศาลริ้วธงชัย และพัชราวลัย มีทรัพย์.(2561).การประเมินคุณภาพบทความวิจัยในการประชุมสัมมนาวิชาการการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2561. หน้า 486-502

13

บทความวิจัย

เบญญาภา ชัยวงค์,ไปรยา แสงเดือน และสุวารีย์ วงศ์วัฒนา.(2562). การเปิดรับข่าวสารและความพึงพอใจของประชาชนในเขตอำเภอเมืองพิษณุโลกที่มีต่อการประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยวในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก.รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4 ประจำปี 2562 วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี.วันที่ 31 พฤษภาคม 2562 หน้า. 11-26

14

บทความวิจัย

กาญจนาพร ต่ายฝอย,กนกพร อ่อนละมูล,และสุวารีย์ วงศ์วัฒนา(2562). พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารและความพึงพอใจที่มีต่อสื่อโซเชียล ของนักศึกษาภาคปกติ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 4 ประจำปี 2562 วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี.วันที่ 31 พฤษภาคม 2562 หน้า. 17-39

15

บทความวิจัย

สุวารีย์ วงศ์วัฒนา,ยุพร ริมชลการ,พัชราวลัย มีทรัพย์ และอัญชนา ปรีชาวรพันธ์.(2562).การศึกษาปัญหาในการทำวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติเครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือครั้งที่ 19 ประจำปี 2562 วันที่ 10 พฤษภาคม 2562 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.หน้า 161-171

16

บทความวิจัย

สุพรต บุญจันทร์,สุวารีย์ วงศ์วัฒนา,ไพศาลริ้วธงชัย.(2563).กลยุทธ์การถ่ายทอดวัฒนธรรมไทยของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดสุโขทัย.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2563.หน้า 31-49

17

บทความวิจัย

กนกวรรณ รอดมณี,กิตติกร ทองโหม2,วธิติวรดา ลาดำ,มธุรดา ใจผ่อง, สุวรรณา แสงวิมล,โสรยา เกตุแพร,วราภรณ์ จันทศร,และสุวารีย์ วงศ์วัฒนา.(2563).การศึกษาพฤติกรรมและทัศนคตินักศึกษาคณะวิทยาการจัดการภาคปกติ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.ที่มีต่อการใช้ประโยชน์จากโปรแกรมสนทนาบนอินเทอร์เน็ต.รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ พิบูลสงครามวิจัย ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ. 2563 วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563. สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.หน้า 1,094-1,100

18

บทความวิจัย

ธัญญารัตน์ พาลารักษ์1,นางสาวสิริพร ไกรทอง2,สุธิดา ขวัญคง,วราภรณ์ จันทศรและสุวารีย์ วงศ์วัฒนา.(2563).พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารและทัศนคติที่มีต่อสื่อวีดิโอคลิปออนไลน์ของนักศึกษาวิชานิเทศศาสตร์ภาคปกติ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ พิบูลสงครามวิจัย ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ. 2563 วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563. สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.หน้า 1,078-1,085

19

บทความวิจัย

ธีรภัทร์ คงเกตุ, วชิรวิทย์ คงคิรินทร์,วุฒิศักดิ์ นันตา, วราภรณ์ จันทศรและสุวารีย์ วงศ์วัฒนา.(2563).การศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารและทัศนคติของประชาชนในเขตตำบลอรัญญิก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ที่มีต่อการประชาสัมพันธ์ของค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ.รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ พิบูลสงครามวิจัย ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ. 2563 วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563. สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.หน้า 583-591

20

บทความวิจัย

มินตรา เรือนทอง,ฐิติกานต์ ทิพย์ชา,ธนบูลย์ เอี่ยมลออ,วราภรณ์ จันทศรและสุวารีย์ วงศ์วัฒนา.พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารและทัศนคติของนักศึกษาภาคปกติ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามที่มีต่อบทบาทของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามในการเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น.รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ พิบูลสงครามวิจัย ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ. 2563 วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563. สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.หน้า 1,086-1,093

21

บทความวิจัย

ทัศไนย แสงสุวรรณ์,ธัญชนก มีไชยโย,วชิราภรณ์ แก้วจันทร์ฉาย,ชลธีร์ ถิรชยันต์ วราภรณ์ จันทศรและสุวารีย์ วงศ์วัฒนา.(2563).การศึกษา พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสาร และทัศนคติของนักศึกษาภาค กศ.ป.ป มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามที่มีต่อ Facebook ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ พิบูลสงครามวิจัย ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ. 2563 วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563. สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.หน้า 869-877

22

บทความวิจัย

นฤมล พิมพ์ศรี, สุพัชญ์ฌา กฤษณะกาฬ, ณัฐธยาน์ ดำสนิท, ถิรธนัช ธนัญวรินทร,

วราภรณ์ จันทศร และสุวารีย์ วงศ์วัฒนา.(2563).การศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารและทัศนคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนพุทธชินราชพิทยา ที่มีต่อภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม.รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ พิบูลสงครามวิจัย ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ. 2563 วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563. สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.หน้า 574-582

23

บทความวิจัย

วรวุฒิ ชูเมือง,พิษณุ ปราบพินาศ,วิมพ์วิภา สักลอ,ศิรินญา โกแสน,อ.วราภรณ์

จันทศรและสุวารีย์ วงศ์วัฒนา.(2563).การศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสาร และทัศนคติของนักศึกษาภาคปกติ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ที่มีต่อข่าวโทรทัศน์.รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ พิบูลสงครามวิจัย ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ. 2563 วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563. สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.หน้า 1,041-1,046

24

บทความวิจัย

สุวารีย์ วงศ์วัฒนา.(2564).การพัฒนาการเรียนออนไลน์รายวิชาระเบียบวิธีวิจัยนิเทศศาสตร์ สำหรับนักศึกษาสาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ปีที่ 16 ฉบับที่ 2 กรกราคม – ธันวาคม 2565.หน้า

25

บทความวิจัย

ชลิตา ทาสี,นภาวรรณ ศรีแก้ว,ศุรัชณี อุดมกิจมงคล,วงศธร ทนุศักดิ์,วราภรณ์ จันทะศร,และสุวารีย์ วงศ์วัฒนา.(2564). การเปิดรับข่าวสารและทัศนคติของประชาชนตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลกที่มีต่อการเผยแพร่วัฒนธรรมของจังหวัดพิษณุโลก..รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 10 และนานาชาติ ครั้งที่ 3 การจัดการนวัตกรรมการวิจัยสู่การยกระดับเศรษฐกิจฐานรากครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ. 2564 วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2563 หน้า 1,609-1,618

26

บทความวิจัย

กฤษฎา สวัสดิ์ดิเรกศาล,ชนาธิป เกศาพร,อาภาภัทร ชูบุญ,เสฏฐวุฒิ จูจันทร์,อนุพงศ์ ขัติยะวงศ์,วราภรณ์ จันทะศร,และสุวารีย์ วงศ์วัฒนา.(2564). การสื่อสารและอนุรักษ์ภูมิปัญญาการทำกล้วยตากของกลุ่มแม่บ้าน อ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก.รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 10 และนานาชาติ ครั้งที่ 3 การจัดการนวัตกรรมการวิจัยสู่การยกระดับเศรษฐกิจฐานรากครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ. 2564 วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 หน้า 1,596-1,602

27

บทความวิจัย

กาญจนา มากมา, ทัศนีวรรณ พาสี ,สุภาพร เกสร , อักษราภัค มานุวงษ์ , อมรรัตน์ บุญลาภ,วราภรณ์ จันทะศร,และสุวารีย์ วงศ์วัฒนา.(2564).การสร้างภาพลักษณ์ของกลุ่มแม่บ้านสานตะกร้าจากเชือกปอป่านหมู่บ้านเก้ารัง อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 10 และนานาชาติ ครั้งที่ 3 การจัดการนวัตกรรมการวิจัยสู่การยกระดับเศรษฐกิจฐานรากครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ. 2564 วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 หน้า 1,603-1,608

28

บทความวิจัย

ชนาธิป สุขเกษม , สุทธิชน น้อยแสง , เจตน์ บุณยะรัตน์ , พีรพล จันทะมา , เกียรติภูมิ แซ่อึ่ง , เฟื่องฟ้า ชาวไทย,วราภรณ์ จันทะศร,และสุวารีย์ วงศ์วัฒนา.(2564).พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารและการรู้เท่าทันสื่อของวัยรุ่นในเขต อ.เมือง จ.พิษณุโลก. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 10 และนานาชาติ ครั้งที่ 3 การจัดการนวัตกรรมการวิจัยสู่การยกระดับเศรษฐกิจฐานรากครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ. 2564 วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 หน้า 1,587-1,595

29

บทความวิจัย

ดลลัดดา , กรกช , ธนัชชา ,ภูริชญา , สุกัญญา,วราภรณ์ จันทะศร,และสุวารีย์ วงศ์วัฒนา.(2564). พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารและทัศนคติของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีต่ออุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย.รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 10 และนานาชาติ ครั้งที่ 3 การจัดการนวัตกรรมการวิจัยสู่การยกระดับเศรษฐกิจฐานรากครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ. 2564 วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2563 หน้า 1,629-1,636

30

บทความวิจัย

ชลดรงค์ สังข์อยู่,ธีรเดช คำภูเมือง,นคพล จงรักษ์,มหรรณพเขียว ประเสริฐ,ศุภชัย อ้นปาน,วราภรณ์ จันทะศร,และสุวารีย์ วงศ์วัฒนา.(2564).การรับรู้ข่าวสารและการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่
(COVID-19) ของนักศึกษาภาคปกติ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 10 และนานาชาติ ครั้งที่ 3 การจัดการนวัตกรรมการวิจัยสู่การยกระดับเศรษฐกิจฐานรากครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ. 2564 วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 หน้า 1,619-1,628

31

บทความวิจัย

สมศักดิ์ พุฒตาลดงม,สุวารีย์ วงศ์วัฒนา,และอนุ เจริญวงษ์ระยับ.(2563). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันทักษะวิชาชีพของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาเทคนิคยานยนตร์ วิทยาลัยเทคนิคสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 4.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ปีที่ 16 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2565. หน้า

32

บทความวิจัย

สุวารีย์ วงศ์วัฒนา.(2565). การรับรู้สภาพปัจจุบันและความคาดหวังของอาจารย์และนักศึกษาต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม – มีนาคม 2565. หน้า 89 – 108

33

บทความวิจัย

ณกมล นกแก้ว,สุวารีย์ วงศ์วัฒนา,และอนุ เจริญวงษ์ระยับ.(2565).รูปแบบการเรียนรู้ตามแนวจิตตปัญญาศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตสำหรับเด็กด้อยโอกาส ในโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (รอตีพิมพ์)